Text Practice Mode
แมวสยาม (Siamese Cat)
created Apr 11th 2021, 13:30 by DarintipWimonpat
1
168 words
15 completed
5
Rating visible after 3 or more votes
00:00
แมวพันธุ์ไหนฉลาดที่สุด จริงๆ เรื่องนี้มีคำตอบ เพราะถ้าไปถาม Google ด้วยการพิมพ์ว่า Most Clever Cat สิ่งที่คุณพบอาจทำให้คุณอึ้ง
เพราะมันคือ แมวสยาม (Siamese Cat)
ถ้าลองค้นดูอีก เราจะพบว่า การจัดอันดับ แมวฉลาด จะไม่ได้ชัดเจนแบบหมา แต่เรียกได้ว่าจัด Top 10 Top 5 หรือกระทั่ง Top 3 ยังไง แมวสยาม ก็ติดอันดับ
คนจะถือกันว่าแมวสยามเป็นแมวที่มีความสามารถในการจะเรียนรู้สูงที่สุดในบรรดาแมวด้วยกัน และถือว่าเป็นแมวที่เข้าหามนุษย์มากสายพันธุ์หนึ่งเลย เพราะแมวปกติก็อย่างที่เรารู้กันว่ามันจะหยิ่ง ไม่ค่อยอยากจะยุ่งกับมนุษย์
ทีนี้บางคนอาจสงสัยว่าไอ้แมวสยาม นี่มันคือตัวอะไร คือแมวที่ในไทยเรียกว่า แมววิเชียรมาศ ใช่ไหม เพราะหน้าตาคล้ายๆ กัน
ในไทย แมววิเชียรมาศคือแมวที่อยู่ในตำราแมวที่เขียนไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งตำนานของไทยนั้นก็จะเล่าว่า แมวพันธุ์นี้สูญหายไปจากเมืองไทยตอนเสียกรุงครั้งที่ 2 ในปี 1767 และที่สูญหายไปก็เพราะพม่าได้ลักพาแมวล้ำค่านี้ไปหมด
และตำนานก็บอกเช่นกันว่าผู้ที่ฟื้นฟูแมวพันธุ์นี้คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทฺธสโร) ที่ไปเจอตำราแมวและพยายามจะรื้อฟื้นและรักษาสายพันธุ์แมวเก่าๆ ไว้
อย่างไรก็ดี ถ้าว่ากันตามหลักฐานฝรั่ง เราจะพบว่าแมวสยามตัวแรกที่ถูกบันทึกชัดๆ ไว้ในโลกตะวันตกนั้นคือแมวที่ถูกส่งไปให้ประธานาธิบดีอเมริกา รัทเทอร์ฟอร์ด บี. เฮส์ จากสถานกงศุลในประเทศไทย ในปี 1878 ซึ่งตอนนั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทฺธสโร) ยังไม่ได้บวชเป็นเณรด้วยซ้ำ (บวชในปี 1881)
ดังนั้นจึงสันนิษฐานได้ว่าจริงๆ แมวสยามก็น่าจะไม่ได้ถูกพม่าเอาไปหมดในช่วงเสียกรุงครั้งที่ 2 และมันก็มีมากมายพอตัวที่จะถูกส่งไปเป็นแมวฮิตในโลกตะวันตกช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เพราะไม่ใช่แค่ประธานาธิบดีอเมริกาเท่านั้นที่จะได้แมวสยามไป แต่มันยังมีการส่งแมวสยามไปในโลกตะวันตกอีกมากมาย และหลายครั้งส่งไปเป็นคู่ และก็มีการเพาะพันธุ์พวกมันต่อจากนั้น
ถามว่าแมวสยามในยุคนั้นน่าจะหน้าตาอย่างไร คำตอบก็คือหน้าตาน่าจะคล้ายๆ แมววิเชียรมาศของไทยในปัจจุบันนี่แหละ แต่อาจจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน เพราะในยุคนั้น ยังไม่มีการประกวดแมว และไม่มีแนวคิดว่า แมวพันธุ์หนึ่งๆ ต้องมีลักษณะแบบนี้ๆ เป๊ะๆ ไม่มีคือไม่ดี (ลักษณะแมวตามตำราแมวของไทยสมัยก่อนนี่ ค่อนข้างจะไม่ได้เป๊ะแบบการประกวดแมว)
แต่ก็นั่นแหละ… ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 โลกตะวันตกเริ่มมีการสร้างมาตรฐานสายพันธุ์ของแมวสยาม ซึ่งผลก็คือ แมวจะถูกเพาะมาตามมาตรฐานเพื่อประกวด และหน้าตามันก็เริ่มเปลี่ยนไป ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับหมามาแล้วในช่วงศตวรรษที่ 19 หลังจากการสร้างมาตรฐานมาหลายสิบปี หน้าตาของพวกมันในสายพันธ์ุเดียวกันเปลี่ยนไปหมด (แถมบางครั้งไม่ได้เปลี่ยนไปในทางที่ดีต่อสุขภาพด้วย)
แมวสยามก็เช่นกัน หน้าตาพวกมันเปลี่ยนไป สีของพวกมันเหมือนเดิมก็จริง แต่หน้าพวกมันแหลมขึ้น และขาก็ยาวขึ้น
พอมาในตอนปลายศตวรรษที่ 20 แมวสยามในโลกตะวันตกที่เป็นพันธุ์แท้ ก็หน้าตาไม่เหมือนแมววิเชียรมาศในไทยแล้ว เพราะมันถูกเพาะพันธุ์ด้วยแนวคิดที่ต่างกันมาหลายสิบปี
อธิบายง่ายๆ คือแมววิเชียรมาศไทยจะมีเอกลักษณ์หลักๆ คือสีขน ส่วนสรีระจะคล้ายกับแมวบ้านปกติ ไม่ได้หน้าแหลมและขายาวเก้งก้างแบบของฝรั่ง
เรื่องตลกก็คือ ในขณะที่แมววิเชียรมาศในไทยก็น่าจะเป็นแมวสยาม แบบแท้จนไม่รู้จะแท้ยังไงแล้ว แต่คนตะวันตกกลับไม่ยอมรับ บอกว่าลักษณะไม่ใช่แมวสยามที่ดี จนในต้นศตวรรษที่ 21 พวกสมาคมแมวต่างๆ เลยต้องสร้างสายพันธุ์ใหม่มารองรับแมววิเชียรมาศ โดยเรียกมันว่าแมวไทย หรือ แมวสยามดั้งเดิมแทน
เพราะมันคือ แมวสยาม (Siamese Cat)
ถ้าลองค้นดูอีก เราจะพบว่า การจัดอันดับ แมวฉลาด จะไม่ได้ชัดเจนแบบหมา แต่เรียกได้ว่าจัด Top 10 Top 5 หรือกระทั่ง Top 3 ยังไง แมวสยาม ก็ติดอันดับ
คนจะถือกันว่าแมวสยามเป็นแมวที่มีความสามารถในการจะเรียนรู้สูงที่สุดในบรรดาแมวด้วยกัน และถือว่าเป็นแมวที่เข้าหามนุษย์มากสายพันธุ์หนึ่งเลย เพราะแมวปกติก็อย่างที่เรารู้กันว่ามันจะหยิ่ง ไม่ค่อยอยากจะยุ่งกับมนุษย์
ทีนี้บางคนอาจสงสัยว่าไอ้แมวสยาม นี่มันคือตัวอะไร คือแมวที่ในไทยเรียกว่า แมววิเชียรมาศ ใช่ไหม เพราะหน้าตาคล้ายๆ กัน
ในไทย แมววิเชียรมาศคือแมวที่อยู่ในตำราแมวที่เขียนไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งตำนานของไทยนั้นก็จะเล่าว่า แมวพันธุ์นี้สูญหายไปจากเมืองไทยตอนเสียกรุงครั้งที่ 2 ในปี 1767 และที่สูญหายไปก็เพราะพม่าได้ลักพาแมวล้ำค่านี้ไปหมด
และตำนานก็บอกเช่นกันว่าผู้ที่ฟื้นฟูแมวพันธุ์นี้คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทฺธสโร) ที่ไปเจอตำราแมวและพยายามจะรื้อฟื้นและรักษาสายพันธุ์แมวเก่าๆ ไว้
อย่างไรก็ดี ถ้าว่ากันตามหลักฐานฝรั่ง เราจะพบว่าแมวสยามตัวแรกที่ถูกบันทึกชัดๆ ไว้ในโลกตะวันตกนั้นคือแมวที่ถูกส่งไปให้ประธานาธิบดีอเมริกา รัทเทอร์ฟอร์ด บี. เฮส์ จากสถานกงศุลในประเทศไทย ในปี 1878 ซึ่งตอนนั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทฺธสโร) ยังไม่ได้บวชเป็นเณรด้วยซ้ำ (บวชในปี 1881)
ดังนั้นจึงสันนิษฐานได้ว่าจริงๆ แมวสยามก็น่าจะไม่ได้ถูกพม่าเอาไปหมดในช่วงเสียกรุงครั้งที่ 2 และมันก็มีมากมายพอตัวที่จะถูกส่งไปเป็นแมวฮิตในโลกตะวันตกช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เพราะไม่ใช่แค่ประธานาธิบดีอเมริกาเท่านั้นที่จะได้แมวสยามไป แต่มันยังมีการส่งแมวสยามไปในโลกตะวันตกอีกมากมาย และหลายครั้งส่งไปเป็นคู่ และก็มีการเพาะพันธุ์พวกมันต่อจากนั้น
ถามว่าแมวสยามในยุคนั้นน่าจะหน้าตาอย่างไร คำตอบก็คือหน้าตาน่าจะคล้ายๆ แมววิเชียรมาศของไทยในปัจจุบันนี่แหละ แต่อาจจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน เพราะในยุคนั้น ยังไม่มีการประกวดแมว และไม่มีแนวคิดว่า แมวพันธุ์หนึ่งๆ ต้องมีลักษณะแบบนี้ๆ เป๊ะๆ ไม่มีคือไม่ดี (ลักษณะแมวตามตำราแมวของไทยสมัยก่อนนี่ ค่อนข้างจะไม่ได้เป๊ะแบบการประกวดแมว)
แต่ก็นั่นแหละ… ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 โลกตะวันตกเริ่มมีการสร้างมาตรฐานสายพันธุ์ของแมวสยาม ซึ่งผลก็คือ แมวจะถูกเพาะมาตามมาตรฐานเพื่อประกวด และหน้าตามันก็เริ่มเปลี่ยนไป ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับหมามาแล้วในช่วงศตวรรษที่ 19 หลังจากการสร้างมาตรฐานมาหลายสิบปี หน้าตาของพวกมันในสายพันธ์ุเดียวกันเปลี่ยนไปหมด (แถมบางครั้งไม่ได้เปลี่ยนไปในทางที่ดีต่อสุขภาพด้วย)
แมวสยามก็เช่นกัน หน้าตาพวกมันเปลี่ยนไป สีของพวกมันเหมือนเดิมก็จริง แต่หน้าพวกมันแหลมขึ้น และขาก็ยาวขึ้น
พอมาในตอนปลายศตวรรษที่ 20 แมวสยามในโลกตะวันตกที่เป็นพันธุ์แท้ ก็หน้าตาไม่เหมือนแมววิเชียรมาศในไทยแล้ว เพราะมันถูกเพาะพันธุ์ด้วยแนวคิดที่ต่างกันมาหลายสิบปี
อธิบายง่ายๆ คือแมววิเชียรมาศไทยจะมีเอกลักษณ์หลักๆ คือสีขน ส่วนสรีระจะคล้ายกับแมวบ้านปกติ ไม่ได้หน้าแหลมและขายาวเก้งก้างแบบของฝรั่ง
เรื่องตลกก็คือ ในขณะที่แมววิเชียรมาศในไทยก็น่าจะเป็นแมวสยาม แบบแท้จนไม่รู้จะแท้ยังไงแล้ว แต่คนตะวันตกกลับไม่ยอมรับ บอกว่าลักษณะไม่ใช่แมวสยามที่ดี จนในต้นศตวรรษที่ 21 พวกสมาคมแมวต่างๆ เลยต้องสร้างสายพันธุ์ใหม่มารองรับแมววิเชียรมาศ โดยเรียกมันว่าแมวไทย หรือ แมวสยามดั้งเดิมแทน
saving score / loading statistics ...